มณฑา กลิ่นหอมจากสรวงสวรรค์



            คนไทยสมัยก่อนนิยมตั้งชื่อด้วยภาษาไทยแท้  ทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น  ผิดกับปัจจุบันตั้งชื่อจริงด้วยภาษาสันสกฤต และตั้งชื่อเล่นเป็นภาษาอังกฤษ

            สำหรับหญิงไทยในอดีต นิยมตั้งชื่อตามชื่อดอกไม้ที่งดงามหรืมีกลิ่นหอม  ยิ่งถ้าเป็นดอกไม้ที่มีทั้งความงามและความหอมในดอกเดียวกันก็ยิ่งนิยมมากขึ้น  เช่น กุหลาบ เป็นชื่อที่นิยมทั้งชายและหญิง

            ดอกไม้บางชนิดก็มีกลิ่นหอม  และยังมีตำนานความเชื่อที่ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาเกี่ยวข้องก็จะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับดอกไม้ที่นำมาเสนอในตอนนี้  นั่นคือ มณฑา

มณฑา ดอกไม้ดั่งเดิมของไทยที่มีตำนาน

            มณฑา  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Talauma candollei BL. อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae เช่นเดียวกับจำปี และจำปา เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านไม่มาก ต้นสูง 1-3 เมตร

          ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกสลับรอบกิ่ง รูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม กว้าง 8-12 เซตติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร พื้นใบมักเป็นลอนคลื่นไม่เรียบ

            ดอก  เป็นดอกเดี่ยวออกตามชอกใบ บริเวณปลายกิ่ง รูปร่างป้อม ปลายดอกห้อยลง มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ หนาแข้ง สีเขียวอมเหลือง กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ  กลีบสีเหลืองรูปไข่กลับยาว 3-5 เซนติเมตร  ดอกมณฑามีกลิ่นหอม จะหอมแรงช่วงเช้าตรู่ ออกดอกไม้ตลอกปี เวลาดอกบานเต็มที่กลีบไม่อ้ามาก

            มณฑา เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเมมีถิ่นกำเนิดในป่าของไทย โดยเฉพาะพบมากในป่าทางภาพใต้ เพราะธรรมชาติของมณฑาชอบที่ร่มรำไร และความชื่นสูง

            หญิงไทยนิยมตั้งชื่อตามดอกไม้มณฑากันมาก และความนิยมนั้นก็ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

            มณฑา มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ จำปูนช้าง จอมปูน (ภาคใต้) และยี่หุบ (ภาคกลาง และภาคเหนือ) สาเหตูที่เรียกว่ายี่หุบ อาจเกิดจากดอกมณฑาเมื่อบานเต็มที่ก็ดูเหมือนยังกุบอยู่นั้นเอง  ชื่อในภาษาอังกฤษคือ MAGNOLITA

          มณฑาเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ดี

Naipii

Phasellus facilisis convallis metus, ut imperdiet augue auctor nec. Duis at velit id augue lobortis porta. Sed varius, enim accumsan aliquam tincidunt, tortor urna vulputate quam, eget finibus urna est in augue.