โรคกระเพาะอาหารกับอินทผาลัม

               โดยทั่วไปแล้ว....... คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า อาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่โดยเฉพาะอาการที่ปวดเรื้อรังมานานเป็นโรคกระเพาะอาหาร แต่แท้ที่จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆภายในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน แผลเพ็บติก โรคของตับ ถุงน้ำดี โรคมะเร็งกะเพาะอาหาร เป็นต้น
                 บรรดากลุ่มโรคกระเพาะอาหารนั้น ที่พบบ่อยและสำคัญ คือ โรคแผลเพ็บติก  (Peptic ulcer) หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “โรคกระเพาะอาหาร” หมายถึงโรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร

                    คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรังหรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รีบรักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆหายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมากจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต แผลในกระเพาะอาหารนี้พบได้ทั้งชายและหญิง ทุกเพศและทุกวัย

                    บรรดากลุ่มโรคกระเพาะอาหารนั้น ที่พบบ่อยและสำคัญ คือ โรคแผลเพ็บติก  (Peptic ulcer) หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “โรคกระเพาะอาหาร” หมายถึงโรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรังหรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รีบรักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆหายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมากจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต แผลในกระเพาะอาหารนี้พบได้ทั้งชายและหญิง ทุกเพศและทุกวัย

                สาเหตุของโรคแผลเพ็บติกเกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหารกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่สมดุลกัน หากกรดหลั่งมากเกินไปหรือความต้านทานต่อกรดลดลงก็จะทำให้เกิดแผลเพ็บติกขึ้นได้ ปัจจุบันพบว่าสาเหตุสำคัญของแผลเพ็บติก ได้แก่ การติดเชื้อเอชไพโลไร ( Helicobactor pylori )
การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคโดยตรง เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด ผู้ที่มีหมู่โลหิตโอ และความเครียดทางอารมณ์

                อาการของโรคที่สำคัญ ได้แก่ ปวดหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ พบบ่อยที่สุดเวลาหิวหรือท้องว่าง จึงมีอาการเฉพาะบางช่วงของวัน ปวดท้อง แน่นท้อง อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆ เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดใหม่อีก แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม

                การรักษาโรคแผลเพ็บติกนอกจากจะให้ยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการแล้ว ยังต้องรักษาที่สาเหตุของโรคด้วย ทั้งนี้คนไข้ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย ทานตรงกันทุกมื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด งดชา กาแฟ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด และลดความวิตกกังวล แต่หากมีอาการแทรกซ้อนก็ควรรีบพบแพทย์

                จากรายงานการวิจัยของ King Saud University ซาอุดิอาระเบีย ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology ปี 2005 ทำการทดลองโดยให้สารสกัดจากอินทผาลัมและเมล็ดให้กับหนูRat ในขนาด 4 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ต่อเนื่องกันนาน 14 วัน โดยใช้ Ethanol เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนู เปรียบเทียบกับยา Lansoprazole ขนาด 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม พบว่า สารสกัดจากน้ำและEthanol ที่ได้จากผลอินทผาลัมและเมล็ดนั้น ทำให้ความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหารลดลงและยังช่วยบรรเทาการหลั่งฮิสตามีน และ gastrin จากการเหนี่ยวนำด้วย Ethanol และยังลดระดับมิวซิน (mucin) ในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย จากการทดลองครั้งนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่าความสามารถป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารของสารสกัดจากอินทผาลัม อาจเกิดจากหลายๆปัจจัย รวมทั้งอาจเกิดจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

Naipii

Phasellus facilisis convallis metus, ut imperdiet augue auctor nec. Duis at velit id augue lobortis porta. Sed varius, enim accumsan aliquam tincidunt, tortor urna vulputate quam, eget finibus urna est in augue.

1 ความคิดเห็น: